salesperson type

นักขายหลายๆท่านอาจจะกำลังสงสัยอยู่ว่าแท้จริงแล้วเราเป็นนักขายประเภทไหนกันแน่ แม้ว่าคำถามนี้จะดูเป็นที่นิยมแต่กลับยังไม่มีการแบ่งประเภทของนักขายกันอย่างจริงจังจริงๆ อย่างไรก็ตามข่าวดีก็คือถึงแม้จะยังไม่มีนิยามแต่เราก็ยังสามารถแบ่งตามคุณลักษณะบางอย่างอย่างสไตล์การขายได้อยู่ และหากนักขายเข้าใจสไตล์การขายของตนเองแล้ว ย่อมทำให้ตนเองสามารถปรับให้เข้ากับธรรมชาติการขายที่ตนเองถนัดได้มากขึ้นด้วย

สำหรับสไตล์การขายนั้นหากให้แบ่งกันกว้างๆอาจจะแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ ซึ่งในแต่ละแบบเองนั้นก็จะมีลักษณะเฉพาะ อุปนิสัยในการขาย สไตล์ต่างๆที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งนักขายแต่ละคนนั้นจะแสดงความโดดเด่นในประเภทของตนเองออกมาอย่างเห็นได้ชัด มาถึงตอนนี้แล้วทุกท่านคงกำลังอยากจะรู้ว่ามีนักขายประเภทไหนบ้าง ตามมาดูกันเลยดีกว่า

Hunter หรือนักล่า

นักขายประเภทนักล่านั้นมีลักษณะที่โดดเด่นสำหรับไทป์นี้คือ นักขายประเภทนี้นั้นจะมีความกระหาย ชอบมองหาโอกาสและลูกค้าใหม่ๆอยู่เสมอ พวกเขานั้นมีความมั่นใจอยู่เต็มเปี่ยม เชื่อมั่นในตัวเอง มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์เป้าหมายที่จะต้องทำให้ถึงให้ได้ นอกจากนี้ยังมีความ aggressive ในการขายสูงมากๆอีกด้วย ไฟในการขายของนักขายประเภทนี้จะร้อนแรงอยู่เสมอ แม้ว่าจะปิดลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม เรียกได้ว่าถ้าในทีมมีนักขายประเภทนี้อยู่ในทีมแล้วล่ะก็จะเป็นตัวช่วยเร่งให้ทีมขายมีความกระตือรือร้นได้เป็นอย่างดี เพราะผลงานของคนอื่นจะถูกเทียบกับเขาคนนี้

แต่อย่างไรก็ตามใช่ว่านักขายประเภทนี้จะไม่มีข้อเสียเลยทีเดียว ด้วยความที่เค้ามักจะมองไปที่เป้าหมายต่อๆไปอยู่เสมอ ทำให้บางครั้งโอกาสในการขายที่เกิดขึ้นบางอย่าง อาจจะถูกมองข้ามไปหรือในกรณีที่เลวร้ายที่สุดหากมีโอกาสหลายอันบางโอกาสอาจจะถูกทิ้งไปถ้าเค้าเห็นว่าโอกาสอื่นๆสำคัญกว่า นักขายประเภทนี้เหมาะมากๆสำหรับทีมที่ต้องการความ proactive มุ่งเน้นการหา lead ลูกค้าใหม่ๆ

Farmer หรือคนทำฟาร์ม

พอพูดถึง farmer หลายต่อหลายคนมักจะนึกไปถึงนักขายที่ไม่กระตือรืนร้น รอคอยแต่โอกาสเข้ามา แต่ไม่ใช่สำหรับนิยามที่เราจะพูดถึงในวันนี้ครับ เพราะ farmer สำหรับนักขายแล้ว พวกเขานั้นจะเก่งในเรื่องของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ความสัมพันธ์ทั้งกับคนในทีมอื่นๆและลูกค้า  เปรียบได้กับการทำฟาร์มที่ค่อยๆเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตในตอนหลัง แม้ว่า farmer ดูเผินๆแล้วสไตล์ของนักขายประเภทนี้อาจจะไม่ได้เน้นที่การ”ขาย”เป็นหลัก แต่ด้วยความที่เค้าตั้งใจที่จะช่วยเหลือลูกค้าจริงๆ จากความที่พวกเขาเห็นคุณค่าของเรื่องความสัมพันธ์ สุดท้ายแล้วลูกค้าก็มักจะชอบใจและจบลงด้วยการซื้อสินค้าในที่สุด

นอกจากที่กล่าวมาพวกเขายังมีความเห็นอกเห็นใจในเรื่องเล็กๆน้อยๆอื่นๆ ทำให้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับขายขายมุ่งเน้นไปที่เรื่องความราบรื่น จึงทำให้นักขายประเภทนี้เหมาะมากกับงานขายประเภทโปรเจกต์ต่างๆที่ต้องการการติดต่อหลายฝ่าย การดูแลในระยะยาว ธุรกิจจึงได้รับประโยชน์จากการขายรูปแบบนี้มากเลยทีเดียว ทำให้นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสไตล์การขายที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

The professional หรือมืออาชีพ

นักขายประเภท professional นั้นทุกการกระทำของพวกเขาจะต้องมีเหตุผลมารองรับอยู่เสมอ ความโดดเด่นของนักขายสไตล์นี้คือการที่พวกเขามีสกิลเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์อย่างเต็มเปี่ยม และสามารถใช้มันกับการขายได้อย่างดีเยี่ยม สามารถตอบสนองและเสนอความต้องการโดยให้เหตุผลที่เหมาะสมกับธุรกิจของลูกค้าได้เสมอ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงไม่ใช่แค่นักขายธรรมดาแต่เป็นผู้ช่วยแก้ปัญหาชั้นดีอีกด้วย ลูกค้าจะรู้สึกไว้วางใจในตัวพวกเขาจากชุดความรู้ที่นักขายประเภทนี้มีอยู่  นอกจากนี้พวกเขายังไม่เคยที่จะผิดคำพูด หากสัญญากับลูกค้าว่าจะส่งใบเสนอราคาให้ในวันนี้ เขาก็จะทำตามนั้น

สิ่งหนึ่งที่คุณจะไม่พบในนักขายประเภทนี้เลยคือการขายตามยถากรรม เพราะพวกเขาจะมีการวางแผนต่างๆไว้อย่างดี มีการรีวิวไปปไลน์และคาดการณ์ยอดขายของตนเองอยู่เสมอ ทำให้นักขายสไตล์นี้จะรู้ตัวดีว่า ณ ตอนนี้สถานะงานขายพวกเขาอยู่จุดไหน และต้องการยอดขายอีกเท่าไร

Prayer หรือนักภาวนา

สำหรับนักขายประเภทนี้พฤติกรรมของพวกเขาก็จะเป็นไปตามชื่อ นั่นก็คือพวกเขารักการสวดอ้อนวอนให้มีลูกค้า และก็เป็นประเภทของนักขายที่คุณเองก็คงอยากสวดภาวนาไม่ให้พบเจอในทีมด้วยเช่นกัน เพราะพวกเขานั้นขาดความกระตือรืนร้นในการมองหาโอกาสใหม่ ยอดของพวกเขาขึ้นกับลูกค้าที่เดินเข้ามาหาพวกเขาเอง เป็นประเภทที่ว่าไม่ว่าพวกเขาจะมีความพยายามน้อยในการขายแค่ไหนก็จะขายได้ด้วยเหตุผลที่ว่าลูกค้าต้องการซื้อของอยู่แล้วนั่นเอง เช่นหากมีคนเดินเข้ามาในร้านและถาม “ผมลืมวันเกิดภรรยา และต้องการรองเท้าให้กับภรรยาผมเป็นของขวัญด่วน ช่วยแนะนำอะไรก็ได้ให้ผมที” เขาจะแนะนำให้และจบไป บางกรณีตัวเลือกแรกที่ลูกค้าต้องการอาจจะไม่มีใน stock แต่สุดท้ายลูกค้าก็จะซื้อรุ่นอื่นไปแทน

นักขายประเภทนี้แม้จะมีเป็นสัดส่วนที่น้อย เพราะขัดกับธรรมชาติของนักขาย แต่เมื่อมีอยู่ในทีมแล้วจะเปรียบเสมือนมะเร็งร้ายที่จะแพร่ไปยังคนอื่นๆในทีมได้โดยง่าย หากคุณเป็นนักขายประเภทนี้อาจจะถึงเวลาที่ต้องปรับเปลี่ยนโดยด่วน โดยมากเรามักจะพบเห็นนักขายประเภทนี้มากในบริษัทที่จัดหา lead ให้กับทีมขาย และเมื่อยอดขายเป็นไปไม่ถึงเป้าพวกเขาจะโทษทุกอย่างยกเว้นตนเอง

สรุป

อย่างไรก็ตามสำหรับสไตล์ทั้ง 4 ในบทความนี้ อาจจะเป็นได้แค่ไกด์ไลน์ในการแบ่งให้คร่าวๆ เพราะในชีวิตการขายที่เกิดขึ้นจริงๆ นักขายอาจจะมีลักษณะบางอย่างที่ผสมกันในหลายๆไทป์ การที่เรารู้ว่าตนเองเป็นนักขายประเภทไหนจะช่วยให้คุณเข้าใจจุดแข็งของตนเองได้ดีมากขึ้น ส่งผลให้คุณเติบโตเป็นนักขายที่ดีกว่าเดิมได้


Tags

นักขาย, ประเภทนักขาย


บทความที่คุณอาจสนใจ

>
Success message!
Warning message!
Error message!